Fin: พลังฮวงจุ้ยบนทำเลสาทร

ที่มาภาพ : shutterstock

ถนนสาทรถือได้ว่าเป็นถนนสายธุรกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เรียกได้ว่าทำเลนี้มีจำนวนอาคารสำนักงานเป็นจำนวนมาก ถนนสาทรแบ่งเป็นถนนสาทรเหนือกับถนนสาทรใต้ โดยถนนสาทรเหนืออยู่ในแขวงสีลม เขตบางรัก ส่วนถนนสาทรใต้อยู่แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร

ภาพแสดงถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้

ที่มาภาพ : ภาพแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม (Base Map) รายละเอียดภาพ 2 เมตร สนับสนุนโดย GISTDA

 

สำหรับการพิจารณาฮวงจุ้ยของทำเลต่างๆ เราจะพิจารณาจากการที่ทำเลนั้นๆ มีแหล่งจ่ายกระแสพลังงานเข้ามามากน้อยเพียงใด และมีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ทำเลนั้นรับพลังงานได้มากหรือน้อย และช่วยเก็บกักพลังงานนั้นๆ หรือไม่ สำหรับทำเลสาทรมีหลักพิจารณาดังนี้

สวนลุม แหล่งจ่ายและสะสมพลังงาน เช่นเดียวกับทำเลสีลมนั่นเอง


ภาพทำเลสาทร บริเวณที่เชื่อมต่อกับถนนพระราม
4 ซึ่งใกล้สวนลุมพินี

สวนลุมพินี จัดเป็นแหล่งสะสมพลังงานขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ เนื่องจากสวนที่อยู่ในเมืองจะเป็นจุดแนวราบต่ำกว่าตึกอาคารสูงในเมือง เนื่องจากศาสตร์ฮวงจุ้ยอาศัยหลักการนำพาพลังงานจากลมหรือน้ำ (ซึ่งคำว่า ฮวง แปลว่า ลม ส่วนคำว่า จุ้ย แปลว่า น้ำ) โดยลมและน้ำจัดเป็นของไหลที่ธรรมชาติสร้างขึ้น เมื่อเกิดการไหลจากจุดหนึ่งก็จะนำพาพลังงานไปสู่อีกจุดหนึ่งได้ และของไหลก็จะไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ จึงทำให้พลังงานไปสะสมอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำ ซึ่งพื้นที่ต่ำในเมืองก็คือพื้นที่สวนที่เป็นที่ราบซึ่งต่ำกว่าตึกสูงรอบๆ จึงเรียกได้ว่าสวนนั้นช่วยสะสมพลังงานได้

หากพิจารณาดูถึงพื้นที่ของสวนลุมจะพบว่ามีพื้นที่เป็นบ่อน้ำจำนวนมาก หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งบริเวณบ่อน้ำคือตำแหน่งที่ของไหลไหลไปสู่จุดต่ำสุดและไม่สามารถไหลไปที่ไหนต่อได้อีกแล้ว หรือเรียกได้ว่าตำแหน่งบ่อน้ำนี้ช่วยยืนยันได้ว่าพลังงานนั้นไม่สามารถไหลไปสะสมที่อื่นที่ต่ำกว่าได้อีกแล้ว

เมื่อสวนคือแหล่งสะสมพลังงานในพื้นที่เมืองแล้ว การที่รถยนต์และรถไฟฟ้าวิ่งผ่านสวนลุมพินีก็จะลากพลังงานที่ถูกสะสมไว้ในสวนบางส่วนกระจายไปสู่ทำเลอื่น รวมถึงถนนสาทรด้วย

ภาพพื้นที่สวนลุมพินี ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีสัดส่วนของบ่อน้ำอยู่ประมาณ
1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของพื้นที่สวนทั้งหมด
ที่มาภาพ : ภาพแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม (Base Map) รายละเอียดภาพ 2 เมตร สนับสนุนโดย GISTDA

           

แหล่งจ่ายกระแสพลังงาน

  1. ถนนวิทยุ เมื่อรถยนต์วิ่งผ่านเส้นถนนวิทยุตรงเข้าสู่ถนนสาทร รถยนต์ก็จะดึงพลังงานจากสวนลุมเข้าสู่ถนนสาทร อย่างไรก็ตาม แม้ว่าถนนสาทรจะได้รับกระแสพลังงานจากสวนลุม แต่พลังงานนั้นไม่สามารถเข้าสู่ถนนสาทรได้เต็มที่ เนื่องจากรถยนต์จะต้องวิ่งลอดใต้สะพานไทย-เบลเยี่ยม บริเวณสี่แยก ซึ่งเป็นสิ่งที่กั้นพลังงานบางส่วนที่มากับรถไม่ให้ข้ามเข้าไปในถนนสาทรนั่นเอง
    ภาพแสดงพลังงานที่วิ่งมาจากถนนวิทยุ
    ที่มาภาพ : ภาพแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม (Base Map) รายละเอียดภาพ 2 เมตร สนับสนุนโดย GISTDA

    ภาพแสดงรถที่วิ่งจากถนนวิทยุเข้าสู่ถนนสาทร ซึ่งจะต้องวิ่งลอดผ่านสะพานไทย-เบลเยี่ยม ซึ่งเป็นตัวกักพลังงานไม่ให้เข้าสู่ถนนสาทรได้เต็มที่
    ที่มาภาพ : shutterstock

  2. ถนนพระราม 4 เมื่อดูจากภาพถ่ายดาวเทียมแล้วจะเห็นได้ว่าถนนพระราม 4 ไม่ได้ตัดกับถนนสาทรแบบตั้งฉาก แต่ถนนสาทรเชื่อมกับถนนพระราม4 ในแกนที่เอียง ไม่ได้เป็นการตั้งฉากเหมือนสี่แยกทั่วไป จึงส่งผลให้พลังงานจากถนนพระราม 4 ไหลเข้าสู่ถนนสาทรได้ง่าย
    ภาพแสดงถนนพระราม 4 ที่เชื่อมต่อกับถนนสาทร โดยถนนไม่ได้ทำมุมฉากกัน จึงทำให้พลังงานไหลเวียนจากถนนพระราม 4 เข้าสู่ถนนสาทรได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ บริเวณหัวมุมถนนสาทรมีกลุ่มของอาคาร Q House ลุมพินี อยู่ด้วย ซึ่งอาคารส่วนที่อยู่หัวมุมนั้นถูกออกแบบเป็นรูปทรงโค้ง จึงทำให้พลังงานที่มาจากถนนพระราม 4 เข้าสู่เส้นสาทรได้ง่ายกว่า เนื่องจากพลังงานที่เป็นกระแสลมสามารถวิ่งลู่ผ่านรูปทรงโค้งได้ดีกว่ารูปทรงสี่เหลี่ยม
    (ทฤษฎีนี้สามารถทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้โดยการจุดเทียนแล้วเป่าให้ดับ โดยการเอากล่องสี่เหลี่ยมกับม้วนกระดาษทิชชูที่เป็นทรงกระบอกมาวางกั้นขวาง การเป่าลมผ่านรูปทรงกระบอกที่มีความโค้งมนนั้นจะทำให้ลมผ่านได้ดีและดับเทียนได้ ในขณะที่รูปทรงสี่เหลี่ยม ลมจะไม่สามารถวิ่งผ่านให้เทียนดับได้)

    ภาพแสดงอาคารหัวมุมถนนที่มีลักษณะโค้ง ทำให้พลังงานไหลเข้าถนนพระราม 4 ได้ง่ายกว่าอาคารทรงสี่เหลี่ยม 

    หากจะเทียบหัวมุมถนนที่เชื่อมสาทรกับพระราม 4 กับหัวมุมถนนที่เชื่อมสีลมกับพระราม 4 นั้น หัวมุมถนนของสาทรที่มีอาคารทรงโค้งมนช่วยให้พลังงานเข้าสู่ถนนสาทรได้ง่าย แต่ก็ยังไม่สามารถสู้หัวมุมถนนสีลมได้ เนื่องจากบริเวณหัวมุมถนนสีลมเป็นพื้นที่โล่งของลานจอดรถโรงแรมดุสิตธานี จึงทำให้หัวมุมถนนสีลมไม่มีอะไรมากั้นพลังงานจากถนนพระราม 4 ทำให้พลังงานเข้าสู่ถนนสีลมได้ง่ายนั้นเอง

    ภาพแสดงพื้นที่โล่งที่เป็นลานจอดรถของโรงแรมดุสิตธานี ช่วยให้พลังงานจากถนนพระราม ไหลเข้าสู่ถนนสีลมได้ง่าย

  3. รถไฟฟ้า BTS ที่วิ่งจากถนนนราธิวาสราชนครินทร์จากสถานีช่องนนทรีแล้วเลี้ยวเข้าสู่สถานีศึกษาวิทยาและสถานีสุรศักดิ์ บนถนนสาทรก็เป็นตัวดึงกระแสพลังงานเข้าสู่ถนนสาทร โดยขณะที่รถไฟฟ้าเลี้ยวก็จะทำให้พลังงานที่วิ่งตามรถไฟฟ้าไปสู่จุดนอกโค้งบางส่วน แต่เนื่องจากทำเลนอกโค้งของแนวเลี้ยวรถไฟฟ้ามีตึก Empire Tower ซึ่งเป็นตึกสูงอยู่ในบริเวณนั้นทำหน้าที่เป็นกำแพงกักพลังงานไม่ให้ไหลออกจากถนนสาทร จึงส่งผลช่วยให้พลังงานจากแนวรถไฟฟ้าสะสมตัวอยู่ที่ถนนสาทร และยังทำให้ตึก Empire Tower นี้เจริญรุ่งเรืองอีกด้วยภาพแสดงแนวรถไฟฟ้าที่วิ่งจากสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรีบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์​ แล้วเลี้ยวเข้าสถานีศึกษาวิทยา บนถนนสาทร ซึ่งรถไฟฟ้าจะทำหน้าที่ลากกระแสพลังงานเข้าถนนสาทร โดยมีตึก Empire Tower เป็นตัวช่วยกั้นพลังงานจากรถไฟฟ้าไม่ให้ข้ามพ้นไปถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ทำให้พลังงานสะสมอยู่ในถนนสาทร ที่มาภาพ : shutterstock
  4. สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์และสถานีศึกษาวิทยา ที่ตั้งอยู่บนถนนสาทรก็เป็นจุดที่กระจายพลังงานในถนนสาทรเนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่เคลื่อนไหวออกจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าก็ถือว่าเป็นตัวนำกระแสพลังงานนั้นเอง
    ภาพรถไฟฟ้าที่แล่นออกจากสถานีรถไฟฟ้าศึกษาวิทยาซึ่งมีตึกสูงอยู่รอบด้าน

สิ่งช่วยกักเก็บพลังงาน

สิ่งที่ช่วยกักเก็บพลังงานในถนนสาทรก็คือทางด่วนขั้นที่ 2 เหมือนกับถนนสีลม ที่กั้นพลังงานที่ไหลจากด้านถนนสาทรและสีลมไม่ให้ข้ามไปจนถึงถนนเจริญกรุง โดยพลังงานที่รถวิ่งลากผ่านจากเส้นสาทรและสีลม เมื่อลอดใต้สะพานทางด่วน พลังงานบางส่วนจะถูกสะพานเก็บกักไว้ในถนน

นอกจากนี้ การที่ถนนสาทรเชื่อมต่อกับถนนกรุงธนบุรีด้วยสะพานกรุงธนบุรีก็ยังทำให้พลังงานจากรถที่วิ่งจากถนนสาทรข้ามไปถนนกรุงธนบุรีได้ยากขึ้นหน่อย เนื่องจากสะพานมีความชัน ทำให้พลังงานไหลข้ามผ่านได้ไปยากขึ้น

จุดที่ทำให้สูญเสียพลังงาน

พลังงานที่ถนนสาทรรับมาจากด้านถนนวิทยุและถนนพระราม 4 สูญเสียไปบริเวณตำแหน่งที่ถูกถนนนราธิวาสราชนครินทร์ตัดเส้นถนนสาทรทำให้พลังงานขาดไปบางส่วน อย่างไรก็ตามแม้พลังงานจะหายไปแต่ก็ได้รับพลังงานชดเชยจากการที่รถไฟฟ้าวิ่งจากสถานีช่องนนทรีเข้ามาสู่ถนนสาทร ทำให้ดึงพลังงานมาชดเชยได้ และมากกว่าพลังที่สูญเสียไปด้วย


ที่มาภาพ : ภาพแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม (Base Map) รายละเอียดภาพ 2 เมตร สนับสนุนโดย GISTDA

Related Posts

ตามช่วงเวลา