FIN: สนามแม่เหล็กโลกกับฮวงจุ้ย

ที่มาภาพ : shutterstock

ทุกครั้งที่เราใช้เข็มทิศ จะสังเกตได้ว่า ลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ การที่ลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือนั้นเป็นเพราะแรงดึงดูดจากสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งมีกระแสแม่เหล็กวิ่งจากทางทิศใต้ไปยังทิศเหนืออย่างสม่ำเสมอและคงที่อยู่ตลอดเวลา

โดยแท้จริงแล้ว กระแสแม่เหล็กโลกมีผลต่อร่างกายของสิ่งชีวิตบนโลกนี้ และหากลองมองดูวิชาด้านฮวงจุ้ยทั้งหลายก็จะพบว่า มีการอ้างอิงถึงทิศต่างๆ ที่เป็นพลังดี พลังร้าย สถิตอยู่ในทิศต่างๆ ซึ่งการแบ่งทิศต่างๆ นั้นก็มาจากการอ้างอิงถึงกระแสแม่เหล็กโลกทั้งสิ้น

เนื่องจากเวลาที่ซินแสจะวัดองศาทิศทางของสถานที่ต่างๆ โดยใช้เข็มทิศจีนโบราณหรือที่เรียกว่า “หล่อแก” เข็มในหล่อแกก็จะชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ เหมือนเข็มทิศทั่วไปซึ่งถูกกำหนดจากกระแสแม่เหล็กของโลกว่าเป็นทิศเหนือ

หลังจากนั้นก็จะแบ่งทิศต่างๆ ได้จากการอ้างอิงตำแหน่งที่ทิศเหนือก่อน ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระแสแม่เหล็กโลกซึ่งมีอิทธิพลต่อร่างกายคน และเป็นที่มาและเป็นองค์ประกอบสำคัญของวิชาฮวงจุ้ยกันก่อน

ภาพจำลองแนวกระแสแม่เหล็กของโลกที่วิ่งจากทิศใต้มายังทิศเหนือ
ที่มาภาพ : shutterstock

กระแสแม่เหล็กโลกมีผลต่อการเรียงตัวของประจุภายในร่างกายมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยกระแสแม่เหล็กนั้นมีผลต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกายของคน เนื่องจากพลังงานแม่เหล็กสามารถเปลี่ยนอะตอมให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งเลือดในร่างกายเราก็มีส่วนผสมของอะตอมนั้นอยู่

โดยกระแสแม่เหล็กจะทำให้อะตอมที่ไม่สามารถแตกตัวได้ แตกตัวเป็นไอออนมากขึ้น จึงทำให้ออกซิเจนถูกลำเลียงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ง่ายขึ้น เป็นผลให้ร่างกายลดอาการเมื่อยล้าและยังกำจัดของเสียจากร่างกายได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

อะตอมนั้นมีโครงสร้างประกอบด้วยนิวเคลียสเป็นใจกลาง ซึ่งมีโปรตอนซึ่งมีประจุเป็นบวก และนิวตรอนไม่มีประจุ ส่วนนอกนิวเคลียสนั้นจะมีอิเล็กตรอนซึ่งเป็นประจุลบโคจรรอบๆ ในแต่ละชั้นหรือเซลล์ ซึ่งการโคจรดังกล่าวทำให้ค้นพบว่า ร่างกายมนุษย์มีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ

ถ้าประจุไฟฟ้ามีการจัดเรียงกันเป็นระเบียบก็จะทำให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง ในทางตรงกันข้าม ถ้าประจุไฟฟ้ามีการเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ ก็จะทำให้ร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วยได้

ทั้งนี้ทางการแพทย์ก็ใช้หลักการของกระแสแม่เหล็กในการตรวจสุขภาพ หรือรักษาคนป่วยที่ตรวจหาสาเหตุไม่พบ

เช่ย การใช้เครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging) สแกน ตรวจสอบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย โดยนักรังสีเทคนิคจะใช้เครื่องนี้สร้างภาพของอวัยวะภายในร่างกาย โดยอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ สร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายคนที่มีความคมชัด และยังสามารถแยกให้เห็นเนื้อเยื่อในร่ายกายที่เป็นปกติและผิดปกติได้ 

ภาพเครื่อง Magnetic Resonance Imaging (MRI)
ที่มาภาพ : shutterstock

โดยเครื่อง MRI ทำงานด้วยการส่งกระไฟฟ้าผ่านขดลวดจำนวนมหาศาลที่เป็นรอบแกนหรือโพรงตรงกลาง โดยมีเตียงให้ผู้ป่วยนอนแล้วค่อยๆ เคลื่อนเข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น และกระแสของสนามแม่เหล็กนี้ทำให้อะตอมภายในเซลล์ที่ในภาวะปกติเรียงตัวไปคนละทิศทางนั้นเรียงตัวเป็นทิศทางเดียวกันตามแรงดึงดูดของกระแสแม่เหล็ก

จากนั้นจึงกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุ ทำให้พลังงานอะตอมสะสมพลังงานมากจนทำให้เบี่ยงเบนจากแกนของสนามแม่เหล็ก หลังจากนั้นจึงหยุดส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ อะตอมก็จะคายพลังงานที่ดูดซึมเข้าไปออกมา โดยพลังงานที่คายออกมามีค่าไม่เท่ากันในโมเลกุลแต่ละชนิดของร่างกาย

ซึ่งเครื่อง MRI ก็จะรับค่าของพลังงานที่คายออกอย่างไม่เท่ากันนี้มาประมวลผล สร้างเป็นภาพของอวัยวะภายในร่างกายอีกที

ซ้าย : ภาพจำลองอะตอมของร่างกายโดยธรรมชาติจะเรียงตัวไปในทิศทางต่างๆ กัน
ขวา : ภาพจำลองอะตอมของร่างกายเมื่อเข้าเครื่อง MRI ที่มีกระแสแม่เหล็ก
ทำให้อะตอมจะเรียงตัวไปในทิศทางเดียวกันตามแนวของแกนแม่เหล็ก
ที่มาภาพ : shutterstock

นอกจากนี้สนามแม่เหล็กยังมีผลต่อสิ่งชีวิตอื่นๆ อีกด้วย โดยนักวิทยาศาสตร์ทดลองปลูกข้าวโดยเรียงตามแนวขวางกระแสแม่เหล็กโลก หรือแนวตะวันออกไปตะวันตก และปลูกเรียงตามแนวกระแสแม่เหล็กโลกแนวเหนือ-ใต้ ผลปรากฏว่าข้าวที่ปลูกเรียงตัวตามแนวเหนือ-ใต้ เจริญเติบโตได้ดีกว่า ซึ่งยังสรุปได้ว่ากระแสแม่เหล็กโลกมีผลต่อเจริญเติบโตและการเผาผลาญของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต (กล่าวโดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล)

ในเมื่อกระแสแม่เหล็กโลกก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกายมนุษย์แล้ว หากเราคำนึงถึงการออกแบบ หรือสร้างบ้าน อาคารต่างๆ เพื่อให้สามารถเหนี่ยวนำกระแสแม่เหล็กให้เก็บกักอยู่ในบ้านมากที่สุดย่อมเป็นผลดี

เมื่อพิจารณาจากทิศทางกระแสแม่เหล็กโลกแล้ว กระแสนั้นจะวิ่งจากทิศใต้ไปยังทิศเหนือเสมอ ดังนั้นเมื่อออกแบบหรือสร้างบ้าน  อาคารต่างๆ ให้มีช่องเปิดทางทิศใต้ ก็จะช่วยให้เหนี่ยวนำกระแสแม่เหล็กมาสู่บ้านเราได้

ซึ่งช่องเปิดที่ใหญ่สุดส่วนใหญ่จะเป็นประตูทางเข้าของบ้านหรืออาคาร และด้านหน้าเข้าอาคารก็มีโอกาสเป็นรั้วโปร่งมากกว่ารั้วทึบ ดังนั้น หากบ้านหรืออาคารหันหน้าไปทางทิศใต้ก็จะมีโอกาสรับกระแสจากแม่เหล็กโลกนี้มากที่สุด จึงนับเป็นข้อดีของการมีบ้านหันหน้าไปทางทิศใต้

ทั้งนี้ทั้งนั้น บ้านหรืออาคารต้องเปิดช่องอากาศ เช่น ประตู หรือหน้าต่าง เพื่อให้กระแสแม่เหล็กเข้ามาสู่อาคารได้  ส่วนบ้านที่ไม่ได้หันหน้าทิศใต้แต่มีช่องลมขนาดใหญ่ก็ยังถือว่าได้รับได้อิทธิพลของกระแสแม่เหล็กนี้

ทีนี้มาดูสำหรับบ้านและอาคารในแง่มุมของวัสดุก่อสร้างกันบ้าง

จากบทความเรื่องบทบาทของสนามแม่เหล็กโลกต่อสุขภาพที่เขียนโดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้อิงหลักธรณีวิทยา มีการแบ่งวัตถุธาตุต่างๆ ที่ไม่ใช่โลหะตามคุณสมบัติทางแม่เหล็ก โดยแบ่งเป็นสารเป็น 2 แบบ

  1. สารที่ผลักดันพลังแม่เหล็ก หรือที่เรียกว่า “ไดอะแมกเนติก” (diamagnetic) และ
  2. สารที่ดึงดูดพลังแม่เหล็กจากสนามแม่เหล็กโลกได้ หรือที่เรียกกันว่า “พาราแมกเนติก” (paramagnetic)

สารพาราแมกเนติกนี้ดูดซับพลังแม่เหล็กได้ระดับหนึ่งแม้ไม่ใช่เหล็ก ซึ่งวัสดุก่อสร้าง เช่น แกรนิต ดิน หินทราย นั้นมีอยู่ ดังนั้นวัสดุก่อสร้างเหล่านี้จึงมีผลต่อการอยู่อาศัยของคน

นอกจากนี้ในคอนกรีตก็ยังมีวัสดุที่เป็นเหล็กและมีผลต่อกระแสแม่เหล็กโดยตรงอีกด้วย ผลที่ออกมาก็คือ วัสดุเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวเหมือนฉนวนกันไม่ให้กระแสแม่เหล็กเข้าสู่ภายในอาคารได้ จึงทำให้คนไม่ได้รับพลังจากกระแสแม่เหล็กโลกโดยตรง

คนที่อยู่ตามธรรมชาติ มีป่า แม่น้ำ ภูเขา และอาศัยในบ้านไม้ส่วนใหญ่ จึงทำให้ได้รับพลังจากกระแสแม่เหล็กโลกโดยตรง ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงดีได้ด้วย 

ที่มาภาพ : Olivier Guillard on Unsplash

โดยมีการพิสูจน์ข้อมูลจริงที่ญี่ปุ่นโดยนักวิจัยชื่อว่า ไคโออิชิ นาคากาวา ซึ่งกล่าวว่า คนงานก่อสร้างตึกสูงจำนวนมากมักจะอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่หลับ และป่วย เนื่องจากการที่ตึกมีโครงเหล็กเป็นจำนวนมากเป็นเหมือนฉนวนกันพลังงานแม่เหล็กโลกไม่ให้เข้าสู่อาคาร จึงทำให้คนเจ็บป่วยได้

และยังตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชีวิตคนปัจจุบันที่มักทำงานในตึกสูงแล้วมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง อาจจะเกิดจากการขาดการได้รับพลังของกระแสแม่เหล็กโลกนี้ 

ทั้งนี้หากคนที่ทำงานในตึกสูงเป็นประจำควรได้รับพลังจากกระแสแม่เหล็กจากการพักผ่อนที่บ้านในช่วงกลางคืนเป็นอย่างน้อย

โดยเฉพาะเวลากลางคืน พลังงานแม่เหล็กโลกจะเข้มข้นมากกว่าเวลากลางวัน เนื่องจากว่าเวลากลางวันนั้นโลกด้านที่เราอาศัยอยู่จะหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งกระแสแม่เหล็กจะคอยป้องกันลมสุริยะที่มีอนุภาคสูงจากดวงอาทิตย์ที่เข้ามาปะทะโลก ทำให้กระแสแม่เหล็กนั้นอ่อนตัวลง

ภาพแสดงกระแสแม่เหล็กโลกที่คอยป้องกันลมสุริยะจากดวงอาทิตย์
ที่มาภาพ : shutterstock

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เรารู้อิทธิพลจากกระแสแม่เหล็กในแง่มุมหนึ่ง อย่างไรก็ตามนักปราชญ์ชาวจีนได้ค้นพบพลังของกระแสแม่เหล็กโลกที่ก่อเกิดปราณชี่ 8 พลัง 24 ทิศทาง และ 60 ปฏิกิริยา ที่มีผลต่อชีวิตคนในรูปแบบต่างๆ

โดยได้นำ พลัง ทิศทาง และปฏิกิริยานี้ มาใช้เป็นหัวใจหลักของวิชาฮวงจุ้ยนั่นเอง โดยการหาทิศทางนั้นก็ใช้การอ้างอิงจากกระแสแม่เหล็กโลกเป็นหลัก โดยอ้างอิงจากทิศเหนือที่เข็มทิศชี้ตามพลังงานกระแสแม่เหล็กโลกนั่นเอง

ส่วนในรูปแบบของพลังงานและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในแต่ละทิศทาง ถูกคิดค้นขึ้นมาอย่างเป็นความลับ ซึ่งมีการอ้างอิงถึงแรงดึงดูด กระแสพลังจากดวงดาวบนท้องฟ้า รวมถึงการโคจรของดาวบนระบบสุริยะจักรวาล ซึ่งดวงดาวแต่ละดวงยังมีกระแสแม่เหล็กในตัวมันเองเช่นกัน โดยบางดวงก็มีขนาดใหญ่กว่าและมีมวลมากกว่าโลกหลายร้อยเท่า เช่น ดาวพฤหัสบดีที่มีมวลมากกว่าโลกประมาณ 400 เท่า

ภาพจำลอง แสดงดาวเคราะห์ต่างๆ บนระบบสุริยะที่มีขนาดแตกต่างกัน
ที่มาภาพ : shutterstock

ภาพจำลอง แสดงการเปรียบเทียบขนาดของโลกกับดาวเคราะห์ต่างๆ
โดยดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์เป็นดาวที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกมาก
ที่มาภาพ : shutterstock

    ภาพแสดงแกนของดาวเคราะห์ต่างๆ โดยโลกมีแกนเอียงประมาณ 23 องศา
ที่มาภาพ : shutterstock

ภาพจำลอง แสดงกระแสแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล
ที่มาภาพ : shutterstock

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเกิดกระแสแม่เหล็กโลก

ภาพจำลองแสดงโครงสร้างของโลก
ที่มาภาพ : shutterstock

กระแสแม่เหล็กโลก เกิดจากการถ่ายเทความร้อนหรืออุณหภูมิของแก่นโลกชั้นใน (Inner core) ไปสู่แก่นโลกชั้นนอก (Outer core) ทั้งนี้สาเหตุของการถ่ายเทความร้อนจากแก่นโลกชั้นในไปสู่ชั้นนอกนั้นเกิดจากการที่แก่นโลกชั้นในมีสถานะเป็นของแข็งมากกว่า เนื่องจากมีความกดดันสูงกว่า

ส่วนแก่นโลกภายนอกจะมีความเป็นของเหลวมากกว่า เนื่องจากมีความกดดันที่ต่ำกว่า จึงทำให้อุณหภูมิของแก่นโลกภายในกับภายนอกแตกต่างกัน และเกิดการถ่ายเทพลังงานความร้อนจากแก่นโลกชั้นในไปสู่แก่นโลกชั้นนอก

เมื่อมีการถ่ายเทพลังงานความร้อนก็จะทำให้เหล็กหลอมภายในตัวโลกเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสาเหตุให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่เคลื่อนที่นั่นเอง

โดยปกติแล้ว หลักการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสแม่เหล็กอยู่แล้ว ดังนั้นการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าภายในโลกจึงทำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก (The Earth’s Magnetic Field) นั่นเอง 

ภาพจำลอง แสดงแกนแม่เหล็กโลก
ที่มาภาพ : shutterstock

ทั้งนี้ พลังงานแม่เหล็กจะวิ่งจากขั้วบวกไปยังขั้วลบ ซึ่งจากแกนโลกแล้ว ทางขั้วโลกเหนือจะมีพลังงานแม่เหล็กขั้วบวก ขณะที่ทางขั้วโลกใต้จะมีพลังงานแม่เหล็กขั้วลบ

ซึ่งก็หมายถึงว่า กระแสแม่เหล็กโลกวิ่งจากทิศใต้มาทิศเหนือเสมอ จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ลูกศรในเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ เนื่องจากกระแสแม่เหล็กโลกเหนี่ยวนำพลังวิ่งไปทางทิศเหนือนั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม แกนแม่เหล็กโลกและแกนโลกไม่ใช่แกนเดียวกัน โดยแกนแม่เหล็กโลกนั้นจะเอียง 12 องศา จากแกนโลก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เข็มลูกศรที่ชี้ไปทางทิศเหนือไม่ตรงกับทิศเหนือจริงๆ

ซึ่งถ้ากำหนดทิศรอบตัวเราเป็น 360 องศา แล้วทิศเหนือคือ 0 องศา ทิศใต้คือ 180 องศา แต่แกนแม่เหล็กโลกฝั่งขั้วโลกเหนืออยู่ที่ทิศ 12 องศา ขณะที่แกนแม่เหล็กโลกฝั่งขั้วโลกใต้จะอยู่ที่ 192 องศา นั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีอีกสาเหตุที่กระแสแม่เหล็กไม่ได้วิ่งไปทางทิศเหนือจริง กล่าวคือ กระแสแม่เหล็กมีการเบี่ยงเบน ในบางพื้นที่ในโลก กระแสแม่เหล็กจะมีความเบี่ยงเบนจึงทำให้กระแม่เหล็กไม่ขนานกับเส้นลองจิจูด

แต่หากพิจารณาที่ประเทศไทยแล้ว ค่าความเบี่ยงเบนของกระแสแม่เหล็กนั้นจะมีค่าเป็นศูนย์ หรือไม่มีค่าการเบี่ยงเบนของกระแสแม่เหล็กในประเทศไทยนั่นเอง

กระแสแม่เหล็กโลกไม่ได้มีการเคลื่อนที่เป็นทรงกลมตามรูปทรงของโลกเสมอไป เนื่องจากว่าหากมองดูในระบบสุริยะนั้นแล้ว โลกเราจะได้รับอิทธิพลจากลมสุริยะในด้านที่ใกล้ดวงอาทิตย์ หรือฝั่งซีกโลกที่เป็นเวลากลางวันที่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง

เนื่องจากกระแสแม่เหล็กโลกช่วยป้องกันพลังงานที่มีอนุภาคสูงจากดวงอาทิตย์ที่พุ่งมาปะทะผิวโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ดำรงชีวิตบนโลกได้ ดังนั้นเมื่อกระแสแม่เหล็กโลกในฝั่งที่โลกเอนเข้าหาดวงอาทิตย์นั้นจะมีขนาดความกว้างน้อยกว่ากระแสแม่เหล็กด้านตรงข้าม หรือด้านที่โลกไม่ได้ปะทะกับดวงอาทิตย์

ดังนั้นในเวลากลางคืน กระแสแม่เหล็กจึงมีความเข้มข้นมากกว่าในเวลากลางวัน เนื่องจากในเวลากลางคืน ซีกโลกเราอยู่จะหันไปด้านที่ตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์

ภาพจำลองกระแสแม่เหล็กของโลกในขณะที่โลกโคจร
ที่มาภาพ : shutterstock

Related Posts

ตามช่วงเวลา