ที่มาภาพ : shutterstock
Empire Tower
-
- ได้รับกระแสพลังงานจากรถไฟฟ้าที่วิ่งจากสถานีช่องนนทรีบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แล้วพุ่งตรงและเลี้ยวขวาเข้าถนนสาทร ทำให้พลังงานที่รถไฟฟ้าลากมาพุ่งเข้าปะทะตึก Empire Tower โดยตรง ซึ่งตึกนี้ก็ออกแบบเป็นตึกสูงรูปทรงคล้ายฝ่ามือมากั้นพลังงานเก็บไว้ในถนนสาทร และช่วยไม่ให้พลังไหลเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ได้ง่ายอีกด้วย ทำให้ตึกนี้ได้รับกระแสพลังงานเต็มที่ และส่งผลดีมากกับถนนสาทรอีกด้วย
ภาพตึก Empire Tower ที่สามารถได้รับกระแสพลังงานโดยตรงจากรถไฟฟ้าที่วิ่งเลี้ยวโค้ง
จากถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เข้าสู่ถนนสาทร - มีตึกรัจนาการมาช่วยกักกระแสพลังงานไม่ให้พลังงานจากรถไฟฟ้านั้นลากผ่านตึก Empire Tower ไปได้ง่ายๆ เพราะตึกรัจนาการจะทำหน้าที่เหมือนตัวดักกระแสพลังงานจากรถไฟฟ้าให้ตีกลับเข้าหาตึก Empire Tower นั่นเอง
ภาพแนวรถไฟฟ้าที่มีตึกรัจนาการเป็นตัวช่วยกักกระแสพลังงานให้สะสมที่ตึก Empire Tower ได้มากขึ้น
ที่มาภาพ : ภาพแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม (Base Map) รายละเอียดภาพ 2 เมตร สนับสนุนโดย GISTDA
- ได้รับกระแสพลังงานจากรถไฟฟ้าที่วิ่งจากสถานีช่องนนทรีบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แล้วพุ่งตรงและเลี้ยวขวาเข้าถนนสาทร ทำให้พลังงานที่รถไฟฟ้าลากมาพุ่งเข้าปะทะตึก Empire Tower โดยตรง ซึ่งตึกนี้ก็ออกแบบเป็นตึกสูงรูปทรงคล้ายฝ่ามือมากั้นพลังงานเก็บไว้ในถนนสาทร และช่วยไม่ให้พลังไหลเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ได้ง่ายอีกด้วย ทำให้ตึกนี้ได้รับกระแสพลังงานเต็มที่ และส่งผลดีมากกับถนนสาทรอีกด้วย
- ตึกรัจนาการ
ได้รับกระแสพลังงานจากรถไฟฟ้าเหมือนกับตึก Empire Tower เช่นกัน เพียงแต่ตึก Empire Tower จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าสำหรับการรับพลังงานจากรถไฟฟ้า แต่ตึกรัจนาการถือว่าเก็บกักพลังงานจากถนนและแนวรถไฟฟ้าได้ดีเช่นกัน เนื่องจากด้านหลังตึกนั้นมีตึก Empire Tower อยู่ เป็นตัวช่วยกั้นไม่ให้พลังงานไหลออกด้านหลังตึกรัจนาการได้ง่ายนั่นเอง
ภาพด้านหน้าตึกรัจนาการ ซึ่งมีตึก Empire Tower อยู่ด้านหลัง เหมือนเป็นสิ่งช่วยเก็บกักพลังงานภาพด้านหน้าตึกรัจนาการ ซึ่งมีประตูหลักเปิดถึงถนนสาทร ทำให้รับกระแสพลังงานได้ง่าย
- ตึก LH
ตึกนี้ตั้งอยู่บริเวณมุมถนนสาทรติดกับถนนพระราม 4 ดังนั้นตึกนี้จะได้รับกระแสพลังงานจากรถยนต์ที่วิ่งบนถนนพระราม 4 และยังได้รับพลังงานจากรถยนต์ที่วิ่งบนถนนวิทยุผ่านสวนลุมพินีที่เป็นแหล่งสะสมพลังงานใหญ่อีกด้วย หากมองดูจากภาพถ่ายแล้วจะเห็นว่าตำแหน่งตึก LH นั้นรับพลังงานจากรถยนต์ที่วิ่งจากถนนวิทยุได้มากคล้ายๆ ลักษณะทาง 3 แพร่ง
ภาพแสดงอาคารกลุ่มอาคาร LH ที่อยู่ริมต้นถนนสาทร
ที่มาภาพ : ภาพแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม (Base Map) รายละเอียดภาพ 2 เมตร สนับสนุนโดย GISTDAภาพด้านหน้าตึก LH Bank ซึ่งออกแบบด้านหน้าโล่งให้รับพลังงานจากถนนได้ดี เพียงแต่เสียตรงบริเวณอาคารเล็กบริเวณหัวมุมถนน จะบังกระแสพลังงานไม่ให้เข้าถึงประตูตึก LH Bank ที่เป็นอาคารสูงได้ง่าย
- ธนาคาร UOB
ธนาคาร UOB ออกแบบให้รับพลังงานจากเส้นถนนสาทรได้ดี เนื่องจากตัวอาคารยกสูงจากพื้นถนนน้อยมาก และมีความโล่งของหน้าประตูทางเข้า ทำให้กระแสพลังงานเข้าได้ถึงอาคารได้ง่าย
ภาพด้านหน้าอาคารสำนักงานธนาคาร UOB - อาคารหอการค้าจีน
- อาคารมีลานโล่งด้านหน้ารับกระแสพลังงานจากรถวิ่งได้ดี
ภาพลานโล่งหน้าอาคารหอการค้าจีน - มีอาคารข้างเคียงช่วยกักพลังงานให้อยู่บริเวณลานโล่งหน้าอาคารหอการค้าจีน
- ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ทำให้ได้รับกระแสพลังงานจากรถไฟฟ้าที่วิ่งลากพลังงานมาแล้วหยุดสะสมตัวที่สถานี รวมถึงการเคลื่อนไหวของคนจากสถานีรถไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดพลังงานบริเวณนี้
ภาพสถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ที่อยู่ตรงข้ามอาคารหอการค้าจีน
- อาคารมีลานโล่งด้านหน้ารับกระแสพลังงานจากรถวิ่งได้ดี
- Sofitel So Bangkok
- อาคารมีทางเข้าด้านถนนสาทรและถนนพระราม 4 เรียกได้ว่ามีจุดรับกระแสพลังงาน 2 ด้านถนน โดยเฉพาะบริเวณถนนสาทร เนื่องจากเป็นทำเลก่อนถึงสี่แยก ทำให้รถวิ่งลากพลังงานมาใกล้ๆ ต้องหยุดชะลอตัวที่สี่แยก ทำให้พลังงานหยุดสะสมบริเวณหน้าทางเข้าโรงแรมนั้นเอง
- ด้านหน้าประตูทางเข้าอาคารก็จัดลักษณะโล่งๆ และตัวอาคารก็ไม่ยกสูงจากถนนมากจึงทำให้พลังงานเข้าถึงตัวโรงแรมได้ง่ายนั้นเอง
ซอยที่โดดเด่น
- ซอยคอนแวนด์
- ซอยเป็นซอยกว้างทำให้พลังงานไหลเข้าสู่ซอยได้ง่าย
- หน้าซอยมีพื้นที่โล่งเยอะ โดยด้านหนึ่งติดปากซอยเป็นปั๊มน้ำมันซึ่งก็ถือว่าเป็นพื้นที่โปร่งโล่ง ขณะที่อีกด้านของปากซอยเป็นสวนโล่งของโบสถ์ จึงทำให้เปรียบเสมือนหน้าปากซอยนี้โล่งและใหญ่มาก หรือเรียกว่ามีปากทางเข้าของพลังงานที่กว้างใหญ่ จึงทำให้พลังงานไหลเข้าสู่ซอยได้ดี
ภาพซอยคอนแวนด์ที่มีปากซอยติดพื้นที่ลักษณะโปร่งโล่งทั้ง 2 ด้าน
ที่มาภาพ : ภาพแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม (Base Map) รายละเอียดภาพ 2 เมตร สนับสนุนโดย GISTDAภาพปากซอยคอนแวนด์ที่มีพื้นที่กว้างโล่งให้พลังไหลเข้าได้ง่าย
- ซอยสวนพลู
- ซอยเป็นซอยกว้างทำให้พลังงานไหลเข้าสู่ซอยได้ง่าย
- หน้าปากซอยมีพื้นที่โล่ง เนื่องจากด้านหนึ่งติดปั๊มน้ำมันซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่โปร่งโล่ง ส่วนอีกด้านของปากซอยเป็นลานโล่งที่จอดรถของร้านอาหาร จึงทำให้หน้าปากซอยนี้มีสภาพโปร่งโล่งทั้ง 2 ด้าน หรือเรียกว่ามีปากทางเข้าของพลังงานที่กว้างใหญ่จึงทำให้พลังงานไหลเข้าสู่ซอยได้ดี เช่นเดียวกับซอยคอนแวนด์นั่นเอง
ภาพแสดงปากซอยสวนพลูที่ติดพื้นที่โปร่งโล่งทั้ง 2 ด้าน ทำให้พลังเข้าซอยได้ง่าย
ที่มาภาพ : ภาพแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม (Base Map) รายละเอียดภาพ 2 เมตร สนับสนุนโดย GISTDAภาพปากซอยสวนพลูที่มีพื้นที่กว้างโล่งให้พลังไหลเข้าได้ง่าย